คุยเรื่องการ Calibrate จอคอม. มือใหม่ต้องรู้..หรือเปล่า ?

Spyder X
เมื่อต้นปีที่ผ่านมาผมกำลังจะซื้อจอคอมใหม่โดยสเปคที่ต้องการคือ
1.ราคาต้องไม่แพงมากนัก
2.หน้าจอแบบ IPS ขนาด 27"
3.Resolution 1920 x 1080
4.Color Gamut sRGB 100%
หลักๆก็ประมาณนี้ หลังจากได้สเปคในใจแล้วก็เริ่มดูรีวิวมากมาย ก็มีเข้าตาอยู่สามแบรนดคือ DEEL BENQ VIWESONIC แต่ราคาไม่น่ารักสักเท่าไร ระหว่างที่หาไปเรื่อยๆ ก็ไปเจอจอของ PHILIPS รุ่น 271E1 สเปคตรงใจ สำคัญสเปคแจ้งว่า Color Gamut NTSC 88%*, sRGB 102%*ตอนนั้นกำลังลดราคาเหลือ 4,900บาท ผมเลยตัดสินใจซื้อมาลองดูก่อนถ้าใช้แล้วไม่โอเคก็จะขายต่อ
 
หลังจากซื้อจอมาแล้วผมก็ลองเปิดใช้งานดูสีส้นก่อนว่าเป็นอย่างไรเท่าที่ดูก็โอเคนะ หลังจากนั้นผมก็ใช้ตัว Spyder X ทำการ Calibrate จอครับ ส่วนขั้นตอนการ Calibrate จอด้วยตัว Spyder X ขอไม่พูดถึงนะครับเพราะมีนักรีวิวเขา VDO สอนการใช้งานกันมากมายแล้ว ในขั้นตอนใช้งานจะมีคำแน่นำว่า ก่อนที่จะ Calibrate จอเราต้องเปิดใช้งานประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนทำการ Calibrate... แต่ผมแน่นำว่าควรเปิดใช้งานสัก 2-3ชั่วโมงแล้วค่อยทำการ Calibrate ครับ ส่วนตัวลองแล้วผลที่ได้จะดีกว่านิดนึง.. เรามาดูผลที่ได้หลังจาก Calibrate จอ PHILIPS กันครับ
 
หลังจากเรา Calibrate จอเสร็จแล้วก็จะมีหน้านี้แสดงให้เรารู้ว่าจอตัวนี้มีขอบเขตของสีแบบ sRGB เท่าไร จอตัวนี้จะอยู่ที่ 96% (สเปคที่แจ้งไว้ที่102%)
 
NTSC ได้ 70% (สเปคที่แจ้งไว้ที่ 88%)

AdobeRGB ได้ 74% (จอที่ใช้แต่งรูปที่มีราคาที่แพงๆก็ตรงจุดนี้ละครับมันจะได้ AdobeRGB 100% เลย)

ลองมาดูผลการ Calibrate จอ AOC รุ่น 2367 ขนาด 23" IPS ที่ใช้งานมา 4-5 ปีกันครับ
sRGB ได้ 97%
NTSC ได้ 68%
AdobeRGB ได้ 74%
 
ดูความต่างก่อนและหลัง Calibrate จอ PHILIPS ครับ
1.ก่อน Calibrate
2.หลัง Calibrate
 
1.ก่อน Calibrate
2.หลัง Calibrate

หลังจาก Calibrate แล้ว และใช้งานอยู่หลายวันผมก็ได้ข้อสรุปว่าพอใจประมาณหนึ่ง ใช้ทำงาน Graphic, แต่งภาพ, รีทัช,ฯลฯ สีส้นโอเค ไม่มีปัญหาอะไร สีตรงในระดับที่พอใจ สรุปใช้มาจนถึงทุกวันนี้ครับ
ผมมีอีกหนึ่งตัวอย่างคือ จอของ Notebook Acer Aspire VX15 ถ้าใครใช้ตัวนี้อยู่จะรู้ว่าสีเพี้ยนมาก ถ้าจำไม่ผิดจอเป็นแบบ VA มั้งไม่แน่ใจ ลองดูผลหลัง Calibrate ครับ
หลัง Calibrate sRGB 100%
NTSC 83%
AdobeRGB 88%
 
จอของ Noetbook ตัวนี้ก่อน Calibrate โทนสีเหลืองจะค่อนข้างอ่อน หลังจาก Calibrate แล้วสีก็ดีขึ้นพอสมครว
คือมีคนคำถามว่า จอคอมที่เขาใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้จำเป็นต้อง Calibrate จอหรือเปล่า สิ่งที่ผมจะถามกลับไปก็คือคุณใช้งานด้านไหน..?
1.ใช้งานทั่วๆไป เช่น งานเอกสาร งานออฟฟิศ ไม่จำเป็นต้อง Calibrate
2.เล่นเกม ผมมองว่าก็ไม่จำเป็นต้อง Calibrate เช่นกัน คนเล่นเกมส่วนใหญ่จะเน้น Refresh Rate และ Response Time เป็นหลัก
3.ถ้าใช้งานด้าน Graphic Design ออกแบบสิ่งพินพ์ต่างๆ ที่ต้องทำงานกับโรงพิมพ์ จำเป็นต้อง Calibrate จออยู่แล้วเพราะว่าจะมีเรื่องของสีในการออกแบบ และการพิมพ์ ที่ต้องการความถูกต้องของสี (แต่ก็มีพวกที่ไม่ซีเรียสเรื่องนี้ก็มี)
4.ทำงานด้านแต่งภาพ งาน VDO จำเป็นต้อง Calibrate แน่นอนอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ก็จะใช้จอที่เฉพาะทางไปเลย
 
ช่วงหลังๆมานี้จะมีคนพูดถึงเรื่องของสีของหน้าว่าต้องตรง ขอบเขตสี sRGB ต้อง 100% หรือ AdobeRGB ต้อง100% อะไรประมาณนี้ เคยมีคนมาปรึกษากับผมว่าจะเอา Notebook ไปเปลียนจอให้เป็นแบบ IPS สีจะได้ตรง ต้องใช่เงินเท่าไร ผมเลยตอบว่าก็หลายพันอยู่นะครับ จะทำแบบนั้นทำไมผมเลยเสนอไปว่าเดียวผมจะ Calibrate จอให้แล้วลองใช้งานดูก่อน ถ้ายังไม่พอใจเราค่อยมาว่ากันใหม่ดีหรือเปล่าเขาก็โอเค จนถึงปัจจุบันนี้ก็ไม่เห็นบ่นอะไรแล้ว...
 
สรุปคือ ผมคิดว่าถ้าใครไม่ได้ซีเรียสอะไรมากนักกับเรื่องนี้ก็ปล่อยผ่านไปครับ ผมเองใช้โปรแกรม Lightroom Photoshop Illstrator จอที่ใช้อยู่ตอนนี้มันเพียงพอต่อการใช้งานอยู่แล้ว สำหรับผมเรื่องการ Calibrate สีจอมันเป็นงานเฉพาะทางที่ต้องทำครับ เล่าให้ฟังจากผู้ใช้งานตัวเป็นๆ...สุดท้ายนี้หากผิดพาดส่วนไหนขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ . . . จ บ แ ย ก ค รั บ
 
ปล. จอที่ขอบเขตสี sRGB 120% หรือ AdobeRGB 120% ก็ใช่ว่าสีจะตรงเสมอไปนะครับ ดูได้จาก Notebook ที่ผมใช้ก็พอครับสุดท้ายเราก็ต้องมีอุปกรณ์ในการ Calibrate หน้าจออยู่ดี ฝากไว้ให้คิดก่อนเสียสตางค์ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Ps - การออกแบบโปสเตอร์ด้วยตัวเองโดยใช้ Photoshop Step by step

Ai - การครอบรูปภาพใน Illustrator

วิธีทำเส้นปะ ลายตะเข็บใน Illustrator CS5 ง่ายนิดเดียว

ai - การทำและออกแบบนามบัตรด้วย Illustrator